🏃🏾♂🏃♀🏃🏾 นักวิ่งหลายคนหรือผู้ที่กำลังจะเริ่มวิ่งอาจได้ยินว่า การบาดเจ็บของ ITB กับนักวิ่งเป็นของคู่กัน 😱😱
ซึ่งบางครั้ง นักวิ่งอาจจะประสบปัญหาที่ว่า ยืดที่ ITB เท่าไหร่ อาการอาจจะดีขึ้นในช่วงแรก แต่กลับไปวิ่งใหม่ อาการเจ็บก็ยังมีอยู่ 🤔🤔 ซึ่งที่จริงแล้วการบาดเจ็บที่ ITB นั้นอาจจะไม่ได้มาจาก ITB อย่างเดียว แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจก่อให้เกิดอาการได้ 📣📣ITB หรือ iliotibial band เป็นเหมือนมัดเอ็นกล้ามเนื้อต้นขาด้านนอก ซึ่งต่อกับกล้ามเนื้อก้น(Gluteus maximus) กล้ามเนื้อบริเวณค่อนหน้าสะโพก(Tensor fascia latae) และกล้ามเนื้อต้นขาด้านนอก(Vastus laterlais) ✔️✔️โดยอาการบาดเจ็บของ ITB นั้นส่วนใหญ่จะเกิดจากความไม่สมดุลกันของกล้ามเนื้อดังกล่าวข้างต้นได้ ❗️❗️❗️เพราะฉะนั้น นอกจากการรักษาที่ ITB เองแล้ว อาจจะต้องมีการตรวจประเมินเพิ่มเติมถึงมัดกล้ามเนื้อโดยรอบ เพื่อทำการรักษา และออกแบบท่าออกกำลังกายที่เหมาะสม ให้มีประสิทธิภาพที่ดีในการวิ่งต่อไป 🚨🚨การรักษาที่เหมาะสม🚨🚨 1️ เริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนการวิ่ง โดยการยืดกล้ามเนื้อ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ 2️ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยรอบ โดยเฉพาะกลุ่มกล้ามเนื้อก้น (Gluteus maximus strengthening) 3️ หากเกิดการบาดเจ็บแล้ว แนะนำให้รีบทำการรักษาอย่างถูกต้อง 👉🏻👉🏻 วีธีการทางกายภาพบำบัด เป็นทางเลือกที่สามารถรักษาได้ โดยจะมีการวิเคราะห์โครงสร้างที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ส่งผลให้เกิดอาการปวด ✔️✔
1 Comment
|
AuthorArchives
August 2024
Categories |