ขอขอบคุณคุณปัญญากร🙏🏼 1- คุณปัญญากรเข้ารับการรักษา อาการข้อเท้าอักเสบเรื้อรัง ข้อเท้าพลิกบ่อย 2- ประวัติ มีอาการปวดข้อเท้าขวาขณะเดินลงน้ำหนัก จากเหตุข้อเท้าพลิกเมื่อ 3 ปีก่อน 3-อาการ ณ วันที่เข้ารับการรรักษา ผู้ป่วยมีอาการปวดข้อเท้า ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักเท้าขวาได้อย่างเต็มที่ มีอาการบวมเล็กน้อยบริเวณใต้ตาตุ่มด้านนอก จากการตรวจร่างกายพบว่าผู้มีจุดกดเจ็บบริเวณใต้ตาตุ่มด้านนอก มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อน่องและสะโพกเพิ่มขึ้น โดยก่อนหน้านี้ผู้ป่วยเคยได้รับการรักษาจากที่อื่นอย่างต่อเนื่อง แต่อาการปวดข้อเท้าก็ยังไม่หายเป็นปกติ 🤔🤔 4-คุณปัญญากรเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการรักษา ➡️ การรักษาด้วยเครื่อง Shockwave, Ultrasound ➡️ เทคนิค Manual therapy ➡️ การออกกำลังกายข้อเท้าเพื่อเพิ่มความมั่นคงของข้อเท้า (Ankle stability exercise) ➡️ การยืดกล้ามเนื้อ (Stretching exercise) 5- หลังการรักษา 🙏🏼🙏🏼 ผู้ป่วยปวดบริเวณข้อเท้าลดลง สามารถเดินลงน้ำหนักเท้าขวาได้เต็มที่ 👍🏻👍🏻✔️✔️ นักกายภาพบำบัดได้แนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเบื้องต้นโดยการประคบเย็นเมื่อมีอาการบวม เนื่องจากอาการผู้ป่วยถือว่ามีการอักเสบเรื่อยๆในระยะเรื้อรัง (Acute on chronic stage) จำเป็นต้องรักษาเพื่อลดการบวม การอักเสบ อีกทั้งยังต้องลดอาการตึงรอบข้อเท้า ซึ่งอาจจะเกิดจากการชดเชยของร่ายการเพื่อเลี่ยงอาการปวด ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณข้อเข้าทำงานไม่สมดุลกัน นักกายภาพบำบัดจึงต้องวิเคราะห์โครงสร้างที่เกี่ยวข้อง เพื่อออกแบบรูปแบบการรักษาให้เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละบุคคล 💫💫 👉🏻 สนใจปรึกษาปัญหา #ข้อเท้าอักเสบเรื้อรัง #ข้อเท้าพลิกบ่อย #ข้อเท้าไม่มั่นคง #อาการโรคทางระบบกระดูก กล้ามเนื้ออื่นๆ ได้ที่เดอะมูฟคลับคลินิกกายภาพบำบัด 🎈ท่านใดประสงค์ปรึกษาปัญหา รบกวนจองคิวล่วงหน้าก่อนนะคะ ติดต่อได้ทุกช่องทางเลยค่ะ
0 Comments
🏃🏾♂🏃♀🏃🏾 นักวิ่งหลายคนหรือผู้ที่กำลังจะเริ่มวิ่งอาจได้ยินว่า การบาดเจ็บของ ITB กับนักวิ่งเป็นของคู่กัน 😱😱
ซึ่งบางครั้ง นักวิ่งอาจจะประสบปัญหาที่ว่า ยืดที่ ITB เท่าไหร่ อาการอาจจะดีขึ้นในช่วงแรก แต่กลับไปวิ่งใหม่ อาการเจ็บก็ยังมีอยู่ 🤔🤔 ซึ่งที่จริงแล้วการบาดเจ็บที่ ITB นั้นอาจจะไม่ได้มาจาก ITB อย่างเดียว แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจก่อให้เกิดอาการได้ 📣📣ITB หรือ iliotibial band เป็นเหมือนมัดเอ็นกล้ามเนื้อต้นขาด้านนอก ซึ่งต่อกับกล้ามเนื้อก้น(Gluteus maximus) กล้ามเนื้อบริเวณค่อนหน้าสะโพก(Tensor fascia latae) และกล้ามเนื้อต้นขาด้านนอก(Vastus laterlais) ✔️✔️โดยอาการบาดเจ็บของ ITB นั้นส่วนใหญ่จะเกิดจากความไม่สมดุลกันของกล้ามเนื้อดังกล่าวข้างต้นได้ ❗️❗️❗️เพราะฉะนั้น นอกจากการรักษาที่ ITB เองแล้ว อาจจะต้องมีการตรวจประเมินเพิ่มเติมถึงมัดกล้ามเนื้อโดยรอบ เพื่อทำการรักษา และออกแบบท่าออกกำลังกายที่เหมาะสม ให้มีประสิทธิภาพที่ดีในการวิ่งต่อไป 🚨🚨การรักษาที่เหมาะสม🚨🚨 1️ เริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนการวิ่ง โดยการยืดกล้ามเนื้อ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ 2️ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยรอบ โดยเฉพาะกลุ่มกล้ามเนื้อก้น (Gluteus maximus strengthening) 3️ หากเกิดการบาดเจ็บแล้ว แนะนำให้รีบทำการรักษาอย่างถูกต้อง 👉🏻👉🏻 วีธีการทางกายภาพบำบัด เป็นทางเลือกที่สามารถรักษาได้ โดยจะมีการวิเคราะห์โครงสร้างที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ส่งผลให้เกิดอาการปวด ✔️✔ ตัวอย่างเคสคนไข้มารักษาด้วยอาการ ✅เอ็นหัวไหล่ข้างขวาอักเสบ ร่วมกับไหล่ติด ไม่สามารถยกแขนได้สุดช่วงการเคลื่อนไหว ✅(Biceps and supraspinatus tendinitis with adhesive capsulitis of Rt. shoulder) ‼️อาการเอ็นหัวไหล่อักเสบและข้อไหล่ติด‼️ ✅สาเหตุ✅ • การใช้งานไหล่ และ แขนอยู่ในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน เช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ การทำผม • นอนทับแขนข้างเดียวตลอดทั้งคืน • การเล่นกีฬาที่ต้องใช้แขนเคลื่อนไหวเหนือศีรษะซ้ำ เช่น เทนนิส เบสบอล ว่ายน้ำ ยกน้ำหนัก(ท่าเหนือศีรษะ) • ลักษณะการทำงานที่ใช้แขนเหนือศีรษะ ทำซ้ำๆต่อเนื่องยาวนาน เช่น ช่างทาสี ช่างไม้ การทำงานบ้าน เช่น เช็ดกระจก • อยู่ในท่าทางไม่เหมาะสม (Poor Posture) ต่อเนื่องเป็นเวลาหลายๆปี • อายุที่มากขึ้น • การฉีดขาดของกล้ามเนื้อ Rotator cuff ✅อาการ✅ ปวดบริเวณด้านหน้าหัวไหล่และร้าวลงไปยังต้นแขน อาจมีอาการบวมร่วมด้วย อาการมักจะปวดมากขึ้น เมื่อยกแขนขณะหงายมือต้านกับแรง และมีจุดกดเจ็บในร่องเอ็น Biceps ด้านหน้าต่อข้อไหล่ เมื่อเกิดการอักเสบเราจะรู้สึกปวด เจ็บ และไม่อยากเคลื่อนไหว จึงส่งผลให้เกิดอาการข้อไหล่ติดร่วมด้วย ‼️ซึ่งอาการของข้อไหล่ติดนั้น เราจะไม่สามารถยกแขนในทิศทางต่างๆได้สุด ตลอดช่วงมุมองศาการเคลื่อนไหว หากยกแขนจนถึงระดับเกือบเต็มที่จะรู้สึกปวด ‼️โดยอาการข้อไหล่ติดจะเกิดทุกทิศทางในการเคลื่อนไหว ทั้งไปข้างหน้า ด้านข้าง หรือข้างหลัง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ขอบคุณรูปจาก medlineplus.gov Text neck คือท่าทางที่คอก้มยื่นไปด้านหน้าเกินหัวไหล่ขณะก้มใช้ Smart phone
เสี่ยงอะไรบ้าง แค่ใช้โทรศัพท์ผิดท่า 1. ปวดศีรษะเรื้อรัง 2. หันศีรษะได้ลำบาก 3. กล้ามเนื้อคอปวดตึง เพราะต้องเกร็งตัวทำงานรับน้ำหนักศีรษะและกระดูกคอไว้ 4.แรงกดต่อกระดูกคอเพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การเกิดกระดูกคอเสื่อม ยิ่งเราก้มหน้ามากเท่าไร กระดูกสันหลังส่วนคอต้องรองรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมากเท่านั้น 5. เส้นประสาทถูกกดทับ 6. ตาพร่ามัว 7. ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลง 30 เปอร์เซ็นต์ เห็นอย่างนี้แล้ว อย่าประมาทกับการก้มหน้าใช้โทรศัพท์แบบผิดท่า อย่างต่อเนื่องนานๆ เพราะผลที่ตามมาน่ากลัวเหลือเกิน ✅แต่ถ้าเริ่มมีอาการปวดเมื่อยตึงคอ ✅หากลองวิธีปรับท่าทางแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น ✅แนะนำให้บริหารกล้ามเนื้อคอ สร้างความแข็งแรงและยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ✅ลดความตึงตัวก่อนที่จะสายเกินแก้กันนะคะ ✅นักกายภาพบำบัดที่เดอะมูฟคลับคลินิกกายภาพบำบัด ยินดีให้คำปรึกษาและรักษาค่ะ (รบกวนจองคิวล่วงหน้านะคะ) |
AuthorArchives
August 2024
Categories |