TheMoveClub Physical Therapy Clinic
  • Home
  • Services
  • Office Syndrome
  • About US
    • Gallery
  • Promotion
  • Review
    • Review สาขารัชดา-วงศ์สว่างและสาขาบางขุนนนท์
    • Review สาขาราชพฤกษ์
  • Contact
  • อาการปวดและท่าบริหาร
    • ปวดคอบ่าไหล่ ออฟฟิศซินโดรม
    • ปวดหลัง ปวดสะโพก หมอนรองกระดูกทับเส้นป&
    • ปวดฝ่าเท้า รองช้ำ
    • กระดูกสันหลังคด
    • นิ้วล็อค ปวดข้อมือ
    • ปวดเข่า
    • กายภาพบำบัดรักษาปวดหลัง
  • News

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

1/21/2022

0 Comments

 
Picture

สาเหตุ

เกิดจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง
ตัวหมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาข้างนอกช่องว่างของกระดูกสันหลัง ทำให้มีอาการปวดหลัง หากหมอนรองกระดูกเคลื่อนตัวออกมามากจนทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการชาร้าว หรือ ร่วมกับมีอาการ
อ่อนแรงได้

ท่าบริหาร

0 Comments

ออฟฟิศซินโดรมเชิญทางนี้ ! ปรับโต๊ะสักหน่อย ยืดกล้ามเนื้อสักนิด ชีวิตดีแน่นอน

1/14/2022

0 Comments

 
ขออนุญาตแนะนำตัวเล็กน้อยนะคะ นักกายภาพบำบัดจากเดอะมูฟคลับ คลินิกกายภาพบำบัดค่ะ

ช่วงนี้คนเริ่มเป็น Office Syndrome มากขึ้น อาจด้วยบางส่วนเริ่มมีการ Work From Home และสถานที่ในบ้านไม่เหมาะกับการนั่งทำงาน หรือทำงานในออฟฟิศแล้วไม่ได้ลุกเป็นระยะเวลานาน

ในคลินิกกายภาพบำบัดช่วงนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็เป็นเคสที่มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง จากการนั่งทำงานนาน

ซึ่งออฟฟิศซินโดรม หรือ Upper cross syndrome เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลย์ของกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่ มีความเรื้อรัง หายได้ยาก จึงควรดูแลตัวเองและปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานค่ะ

วันนี้นักกายฯ เลยขอมาแนะนำการดูแลตัวเองเบื้องต้น เพื่อป้องกัน หรือรักษาอาการปวดจากการนั่งนาน ๆ ค่ะ

ก่อนอื่น เรามาสำรวจตัวเองก่อนนะคะ ว่าเราเป็น Office Syndrome (Upper Cross Syndrome)หรือไม่

“ Office Syndrome Check List ”

- รู้สึกปวดหรือเมื่อยแบบรำคาญ
- มีการอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ หรือทำกิจกรรมเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เช่น นั่งใช้คอมพิวเตอร์นาน ขับรถนาน ใช้โทรศัพท์นาน
- เมื่อขยับตัวหรือบีบนวดแล้วอาการเบาลง แต่จะกลับมาเป็นอีก
- ใช้ความร้อน (แผ่นแปะ ประคบร้อน ฯลฯ) แล้วดีขึ้น แต่สักพักก็ปวดอีก
- อาการไม่หายไปไหน เรื้อรัง กลับมาเป็นอยู่เรื่อย ๆ

หากมีอาการใกล้เคียงกับ Check List ด้านบน แสดงว่าเราอาจเป็นออฟฟิศซินโดรมนะคะ

“ จัดการอาการปวด ”

วิธีการจัดการกับอาการปวดที่เราจะมาดูในวันนี้ มีทั้งหมด 3 ข้อ ซึ่งโฟกัสอาการปวดคอ บ่า ไหล่ นะคะ ใช้ได้ทั้งผู้ที่มีอาการปวด และยังไม่มีอาการค่ะ

1. พักเป็นระยะ

สิ่งที่ง่ายที่สุดในการยับยั้งการทำงานซ้ำ ๆ ของกล้ามเนื้อจนได้รับบาดเจ็บ คือการพักการใช้งานเป็นระยะ
เช่น หากต้องนั่งใช้คอมพิวเตอร์ทุกวัน วันละ 6-8 ชั่วโมง ลองตั้งนาฬิกาปลุกทุกชั่วโมงเพื่อลุกขึ้นมาเดิน ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ก็จะช่วยให้กล้ามเนื้อไม่ต้องทำงานต่อเนื่องยาวนานจนประท้วงด้วยอาการปวดได้ค่ะ

2. ปรับสถานีทำงาน

สถานีทำงาน คือทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา เวลาที่จะต้องใช้งานซ้ำ ๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ คอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ด เมาส์ เป็นต้น

การปรับสถานีทำงาน ช่วยทำให้กล้ามเนื้ออยู่ในความยาวที่เหมาะสม และลดภาระของกล้ามเนื้อได้ค่ะ

เรามาลองปรับดูพร้อมกันนะคะ

- ขอบบนของจอ Monitor ควรอยู่ตรงกับระดับสายตา

หากจอต่ำเกินไป ลองหาหนังสือหรือกล่องมาหนุนจอดูนะคะ หากจอสูงเกินไป ลองปรับเก้าอี้ขึ้นเพื่อให้ตรงระดับค่ะ

- ตำแหน่งคีย์บอร์ด ให้พิมพ์ได้โดยไหล่ไม่ยก

ลองสังเกตตัวเองว่าเวลาพิมพ์ หัวไหล่เรายกอยู่หรือไม่ (ศอกงอประมาณ 90-120 องศา)
จะค่อนข้างเป็นปัญหาในผู้ที่ใช้ Laptop จึงควรหาคีย์บอร์ดแยก (Split Keyboard) มาวางในตำแหน่งที่ต่ำกว่าแลปท็อป เพื่อจะได้ไม่ต้องยกไหล่ค่ะ

- ข้อศอกต้องมีที่วาง

การใช้งานในลักษณะงอศอกตลอด ทำให้ภาระงานของกล้ามเนื้อไหล่และแขนเยอะเกินไป
หากเก้าอี้ไม่มีที่พักแขน อาจหาหมอนมารองศอก (ระวังไม่ให้ไหล่ยก)
หากเก้าอี้มีที่พักแขน ปรับที่พักแขนพอดีกับข้อศอกเพื่อซัพพอร์ตนะคะ

- หลังล่างโดนหนุน

ร่างกายคนเรามีส่วนเว้าบริเวณหลังล่าง ตรงนี้หากเก้าอี้มีส่วนเว้าที่ซัพพอร์ตได้พอดีจะทำให้น้ำหนักตกได้ดีกว่า
เพราะฉะนั้นหากเก้าอี้ไม่มีส่วนเว้า ลองหาผ้าขนหนูหรือหมอนบาง ๆ วางไว้ระหว่างเอวกับเก้าอี้ดู 
นอกจากจะช่วยให้หลังรับน้ำหนักดีแล้ว ยังทำให้เรานั่งตัวตรงขึ้นด้วยค่ะ

- ที่พิงหัว Head Rest

อันนี้ไม่ได้จำเป็นมาก แต่หากเก้าอี้มีที่พิงศีรษะให้ได้พักเป็นระยะ กล้ามเนื้อก็จะรับ Load น้อยลง 
หากเก้าอี้ยังไม่มีที่พิงศีรษะ ลองหาส่วนเสริมไปติดตั้งก็เป็นทางเลือกที่ดีค่ะ

ลองมาดูตัวอย่างการจัดสถานีทำงานกันค่ะ
Picture
3. หมั่นยืดกล้ามเนื้อเป็นระยะ

เพื่อลดการบาดเจ็บที่เกิดจากการใช้งานที่มากเกินไป

เราลองมายืดกล้ามเนื้อเพื่อลดความตึงตัว

และเตรียมกล้ามเนื้อให้พร้อมสำหรับการใช้งานกันค่ะ

ทุกท่าต่อไปนี้ ทำค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้งนะคะ สามารถทำได้บ่อยเท่าที่ต้องการค่ะ

ควรรู้สึกตึงแต่ไม่เจ็บ หากมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บ ชา ปวดเพิ่มขึ้น ควรหยุดทำและปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดนะคะ

ยืดกล้ามเนื้อคอบ่า (Upper Trapezius and Levator Scapulae Muscle)

นั่งบนเก้าอี้ มือฝั่งที่จะยืดหนึ่งจับเก้าอี้ไว้ไม่ให้ไหล่ยก ก้มศีรษะ เอียงหูแนบไหล่ในฝั่งตรงข้ามกับฝั่งที่ยืด หันมองเพดาน นำมือที่ไม่ได้จับเก้าอี้อ้อมมาจับศีรษะอีกด้าน ออกแรงดึงเล็กน้อย
กล้ามเนื้ออีกมัด ท่าเดียวกันได้นะคะ เพียงแต่หันมองรักแร้ฝั่งตรงข้ามด้านที่ยืดแทนมองเพดาน พยายามก้มศีรษะไว้นะคะ
Picture
ยืดกล้ามเนื้ออกมัดเล็ก (Pectoralis Minor Muscle)

นั่งบนเก้าอี้ มือประสานกันไว้ด้านหลัง แอ่นอกหนีบสะบักเข้าหากัน กดไหล่ลง เงยหน้าขึ้น
Picture
ยืดกล้ามเนื้ออกมัดใหญ่ (Pectoralis Major Muscle)

ยืนหันหน้าเข้ากำแพง ยกแขนขึ้นขนานลำตัว ศอกงอ 90 องศา
ทาบแขนลงกับกำแพง หันตัวออกช้า ๆ
มัดนี้ทำสองท่านะคะ รักแร้ทำมุม 90 และ 120 องศาค่ะ
Picture
4. เพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อสะบัก (Middle and Lower Trapezius Muscle)

การทำงานส่วนใหญ่เป็นการใช้กล้ามเนื้อด้านหน้า
ผู้ที่มีปัญหาออฟฟิศซินโดรมส่วนใหญ่ กล้ามเนื้อสะบักไม่แข็งแรง
และยิ่งกล้ามเนื้อสะบักไม่แข็งแรง จะทำให้ปวดง่ายขึ้นนะคะ

ลองออกกำลังกายกล้ามเนื้อสะบักด้วยท่านี้กันนะคะ

ยืนหันหน้าเข้ากำแพง กางแขนขึ้นประมาณ 140 องศา ลำตัวและแขนแนบกำแพง
ค่อย ๆ ยกแขนออกจากกำแพง โดยลำตัวอยู่ที่เดิม พยายามหนีบสะบักเข้าหากัน ไม่ยกไหล่
ทำซ้ำ 10 ครั้งต่อเซ็ต วันละ 3 เซ็ตค่ะ
Picture
หากปรับเปลี่ยนท่านั่ง ออกกำลังกายเป็นประจำ และไม่นั่งท่าเดิมซ้ำเป็นระยะเวลานาน

กล้ามเนื้อจะทำงานได้เหมาะสม และลดอาการปวดลงค่ะ

หากนำไปใช้แล้วอาการเปลี่ยนแปลงยังไง มาแลกเปลี่ยนกันได้นะคะ

- The Move Club Physical Therapy Clinic -
0 Comments

“รองช้ำ” Plantar fasciitis อาการปวดส้นเท้า    อีกโรคยอดฮิต ที่ทำให้หลายท่านต้องช้ำใจ

1/14/2022

0 Comments

 

​มาทำความรู้จักกับโรค “รองช้ำ” อาการปวดส้นไม่ได้มีแค่ปวดส้น 

สวัสดีค่ะ 
         EP.นี้จะขอพูดถึงโรค “รองช้ำ” หรือ “Plantar fasciitis”  อีกโรคยอดฮิต ที่ทำให้หลายท่านต้องช้ำใจ เพราะรองช้ำ จะมีอาการปวดส้นเท้า
  
         ปวดมากโดยเฉพาะก้าวแรกที่เราจะก้าวเดิน จนทำให้หลายๆ ท่านต้องทำใจเป็นอย่างมากก่อนจะลุกยืนเดินได้
 
         หากเดินสักระยะหนึ่งอาการปวดส้นมักจะทุเลาลง และสามารถกลับมาปวดมากเหมือนเดิมได้ใหม่
 
         หากยืนเดินเป็นระยะเวลานานหรือลุกขึ้นจากการนั่งพักนานๆ และหากปล่อยไว้เป็นเรื้อรังอาจทำให้มีอาการปวดตลอดเวลาได้
 
         วันนี้ทาง The Move Club จะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับอาการปวดรองช้ำนี้ ให้ทุกท่านได้เข้าใจกันแบบง่ายๆ

Picture

                   โรค “รองช้ำ” หรือ “Plantar fasciitis” เกิดจากเอ็นใต้ฝ่าเท้า (Plantar fascia) มีการอักเสบ โดยส่วนมากมักจะอักเสบบริเวณส้นเท้า
 
         เนื่องจากเป็นจุดเกาะต้นของเอ็นใต้ฝ่าเท้า หรืออาจพบว่ามีอาการปวดหรือตึงตลอดแนวเอ็นใต้ฝ่าเท้าเลยก็เป็นได้
 
         โดยการบาดเจ็บส่วนใหญ่จะเกิดจากการบาดเจ็บทีละเล็กทีละน้อย  ที่ฝ่าเท้าและสะสมมาเป็นเวลานาน มักพบในเพศหญิงได้มากกว่าเพศชาย
 
         โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นรองช้ำได้ ก็คือลักษณะการใช้งานที่ต้องยืนหรือเดินนานๆ โดยเฉพาะหากใส่รองเท้าที่พื้นรองเท้าแข็งหรือนุ่มจนเกินไป
 
         หรือใส่รองเท้าส้นสูงเป็นระยะเวลานานๆ โดยมากมักสัมพันธ์กับความตึงตัวของกล้ามเนื้อน่องที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น
 
         รวมถึงรูปแบบเท้าที่มีความผิดปกติ เช่น ภาวะอุ้งเท้าแบนหรืออุ้งเท้าสูง ก็จะทำให้เสี่ยงเป็นรองช้ำได้ง่ายขึ้น

                   โรค “รองช้ำ” หรือ “Plantar fasciitis” เกิดจากเอ็นใต้ฝ่าเท้า (Plantar fascia) มีการอักเสบ โดยส่วนมากมักจะอักเสบบริเวณส้นเท้า
 
         เนื่องจากเป็นจุดเกาะต้นของเอ็นใต้ฝ่าเท้า หรืออาจพบว่ามีอาการปวดหรือตึงตลอดแนวเอ็นใต้ฝ่าเท้าเลยก็เป็นได้
 
         โดยการบาดเจ็บส่วนใหญ่จะเกิดจากการบาดเจ็บทีละเล็กทีละน้อย  ที่ฝ่าเท้าและสะสมมาเป็นเวลานาน มักพบในเพศหญิงได้มากกว่าเพศชาย
 
         โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นรองช้ำได้ ก็คือลักษณะการใช้งานที่ต้องยืนหรือเดินนานๆ โดยเฉพาะหากใส่รองเท้าที่พื้นรองเท้าแข็งหรือนุ่มจนเกินไป
 
         หรือใส่รองเท้าส้นสูงเป็นระยะเวลานานๆ โดยมากมักสัมพันธ์กับความตึงตัวของกล้ามเนื้อน่องที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น
 
         รวมถึงรูปแบบเท้าที่มีความผิดปกติ เช่น ภาวะอุ้งเท้าแบนหรืออุ้งเท้าสูง ก็จะทำให้เสี่ยงเป็นรองช้ำได้ง่ายขึ้น

Picture
หลายท่านอาจไม่ทราบมาก่อนว่า “รองช้ำ” ที่ปวดแค่บริเวณส้นเท้า อาจไม่ได้มีปัญหาแค่บริเวณส้นเท้าเพียงอย่างเดียว
 
         อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่ารองช้ำจะพบความตึงตัวของกล้ามเนื้อน่องร่วมด้วย สาเหตุที่มีความเชื่อมโยงกันก็เพราะว่าเอ็นจุดเกาะปลายของ

         กล้ามเนื้อน่องจะรวมกันกับเอ็นร้อยหวายและไปเกาะที่กระดูกส้นเท้าของเราด้วย ดังนั้นหากกล้ามเนื้อน่องมีความตึงตัวก็เหมือนกับมีแรงใน

         ทิศดึงขึ้น (ดังรูปแรง A) ดึงให้ข้อเท้ากระดกลงอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อเรามีการลุกขึ้นยืนหรือเดิน ซึ่งปกติของจังหวะการก้าวเดินจะมีช่วงที่ข้อเท้า

         จะต้องกระดกขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้เท้าเราพ้นจากพื้น จึงทำให้มีแรงกระทำต่อส้นเท้าในทิศทางดึงลง (ดังรูปแรง B) ส่งผลทำให้มีแรงดึงกระชาก

         บริเวณส้นเท้าจนเกิดการบาดเจ็บที่จุดเกาะต้นของเอ็นใต้ฝ่าเท้าทีละเล็กทีละน้อย (microtrauma) ซึ่งการปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานๆ ก็สามารถ

         ทำให้เกิดอาการปวดส้นเท้าตามมาได้ และส่วนมากมักพบร่วมกับกล้ามเนื้อกลุ่มเหยียดสะโพกแข็งแรงลดลง ทำให้การควบคุมการทำงานของ

         กล้ามเนื้อสะโพกมีประสิทธิภาพลดลง เมื่อเราไปใช้งานในลักษณะยืนเดินนานๆ ร่างกายของเราจะต้องชดเชยโดยการใช้ส่วนรยางค์ เช่น

         กล้ามเนื้อน่อง หรือกลุ่มต้นขาด้านข้างทำงานมากขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นมีความตึงตัวเพิ่มขึ้นตามมา
----------------------------------------------------------------------------

                   วันนี้ทางเดอะมูฟคลับคลินิกกายภาพบำบัดจึงมีท่าทางการออกกำลังกาย และการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการรองช้ำ 

         สามารถทำได้ทั้งผู้ที่ยังไม่มีอาการปวด หรือผู้ที่มีอาการปวดแล้ว แต่จะต้องระวังนะคะ ขณะทำตามต้องไม่ตึงจนเกินไป 

         จะมีท่าอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันได้เลยค่ะ
--------------------------------------------------
 
         เริ่มกันที่ท่าแรก เป็นการฝึกการยืดกล้ามเนื้อน่องในท่านั่ง
Picture
วิธีการเริ่มจากการนั่งเหยียดขา ใช้ผ้าที่มีลักษณะยาวคล้องปลายเท้า จากนั้นค่อยๆ ออกแรงดึงปลายผ้าให้ข้อเท้ากระดกขึ้น จนรู้สึกตึงบริเวณน่องและใต้ข้อพับเข่า ทำค้างไว้ 10 วินาที ควรทำซ้ำ 5 เซท อาจสลับยืดทั้งสองข้าง


         ท่าที่ 2 เป็นการฝึกการยืดกล้ามเนื้อน่องในท่ายืน

Picture
วิธีการเริ่มจาก ยืนหันหน้าเข้าหากำแพง โดยขาที่ต้องการยืดอยู่ด้านหลัง จากนั้นค่อยๆ ถ่ายน้ำหนักไปขาด้านหน้า โดยเข่าด้านหน้าไม่ควรเลยปลายเท้า จนรู้สึกตึงบริเวณน่อง ส่วนขาด้านหลังเข่าจะต้องอยู่ในลักษณะตรง และระวังไม่ให้ข้อเท้าบิดหมุน คือส้นเท้าและปลายเท้าจะต้องอยู่ในแนวเดียวกัน ทำค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 5 เซท อาจสลับยืดทั้งสองข้าง


         ท่าที่ 3 เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อน่องชั้นลึก

Picture
  วิธีการเริ่มจาก ยืนครึ่งเท้าบนขอบขั้นบันไดที่มีความมั่นคง ใช้บอลขนาดเล็กหนีบระหว่างส้นเข้า 2 ข้าง จากนั้นค่อยๆ ออกแรงเขย่งปลายเท้าขึ้น-ลงช้าๆ โดยที่ยังหนีบบอลอยู่  ทำซ้ำ 10 ครั้ง ทำ 3 เซท


         ท่าที่ 4 เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดสะโพก
Picture
 วิธีการเริ่มจาก นอนตะแคงขาที่มีต้องการออกกำลังอยู่ด้านบน พร้อมเหยียดสะโพกไปทางด้านหลังเล็กน้อย จากนั้นค่อยๆออกแรงกางสะโพกขึ้น-ลงช้าๆ จะรู้สึกเกร็งบริเวณสะโพกด้านข้าง หากรู้สึกเกร็งบริเณหลังให้ลดมุมกางสะโพกลง ทำซ้ำ 10 ครั้ง ทำ 3 เซท


         ท่าที่ 5 เป็นการยืดกล้ามเนื้อน่องก่อนลุกยืนเดิน
Picture
ท่านี้สำคัญมากๆ สำหรับผู้มีอาการปวดส้นโดยเฉพาะก้าวแรกหลังจากตื่นนอน หรือก้าวแรกหลังจากนั่งนาน
 
       วิธีการเริ่มจากนั่งห้อยขาข้างเตียงหรือบนเก้าอี้ พร้อมเหยียดเข่าและกระดกข้อเท้าขึ้น จนรู้สึกตึงบริเวณน่อง ยืดค้างไว้ 10 วินาทีเป็นอย่างน้อย 
และทำซ้ำ 5 ครั้ง ทำได้บ่อยตามต้องการ
---------------------------------------------------------------------------

         ทางเดอะมูฟคลับคลินิก หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆที่มีอาการปวดส้นเท้าอยู่
  
         และอย่าลืมหมั่นยืดกล้ามเนื้อน่องโดยเฉพาะก่อนลุกขึ้นยืนเดิน ถึงแม้อาการปวดจะลดลงหรือหายแล้วก็ตาม
 
         แนะนำให้ยืดกล้ามเนื้อน่องสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำค่ะ

         แต่สิ่งที่สำคัญคือการตระหนักรู้ว่าตอนนี้เรานั่งแบบไหน นั่งถูกหรือไม่ นั่งไปแล้วร่างกายกำลังร้องไห้อยู่หรือเปล่า

         มาเริ่มแก้กันที่ต้นเหตุเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากันนะคะ

          หากใครลองทำตามท่าทางกายบริหาร และการดูแลแล้วยังมีอาการปวดส้นอยู่
 
          สามารถมาเข้ามารับการรักษา และขอคำปรึกษากับทางเดอะมูฟคลับคลินิกกายภาพได้นะคะ

          หากใครชื่นชอบโพสต์สาระความรู้ดีๆแบบนี้ สามารถแบ่งปันให้เพื่อนๆ แชร์แบ่งปันเป็นกำลังใจให้กันได้นะคะ

          หรือท่านใดอยากให้ทาง The move club มาแชร์ความรู้ แชร์ประสบการณ์เรื่องใด สามารถ comment มาบอกได้นะคะ
0 Comments

ปวดหลัง ชาร้าวลงขา บางทีถึงขั้นเดินไม่ได้

1/14/2022

0 Comments

 

​มีใครเคยเป็นมั้ย อยู่ดีๆปวดหลัง อีกสักพักก็มีอาการชาร้าวลงขา บางทีถึงขั้นเดินไม่ได้

สวัสดีค่ะ มาพบกับนักกายภาพบำบัดจากเดอะมูฟคลับคลินิกกายภาพบำบัดอีกเช่นเคยนะคะ
 
        วันนี้เรามีข้อมูลดีๆเกี่ยวกับอาการปวดหลังที่สามารถพบเจอกันได้บ่อยมากๆ บางครั้งมีอาการปวดหลังร่วมกับชาลงขาร่วม หรือส่งผลทำให้เดินไม่สะดวก เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการนี้และแนวทางการดูแลด้วยตัวเองกันค่ะ
 
        ปัจจุบันรูปแบบการทำงานและการใช้ชีวิตประจำมักอยู่ในท่าทางการนั่ง ทั้งนั่งทำงาน  work from home การนั่งดูซีรีส์เรื่องโปรดติดต่อกันหลายๆตอน นั่งขับรถระยะทางไกลๆ หรือท่าทางการยืนเดินเป็นระยะเวลานาน
 
        ท่าทางเหล่านี้มีผลอย่างไรกับกล้ามเนื้อและโครงสร้างร่างกาย เรามาขยายความกันค่ะ
Picture
 จากการศึกษาเกี่ยวกับท่าทางของร่างกายในลักษณะต่างๆที่มีผลต่อแรงกดต่อแนวกระดูกสันหลัง พบว่าท่าทางการนั่งและยืนที่ก้มโน้มตัวไปด้านหน้าจะมีแรงกดอัดเบียดต่อกระดูกสันหลังได้มากกว่าการนั่งหรือยืนตัวตรง ซึ่งมีผลต่อหมอนรองกระดูกสันหลังและโครงสร้างรอบๆทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนล่าง กล้ามเนื้องอและเหยียดสะโพก ร่วมถึงกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังมีการหดเกร็ง ตึงตัวเป็นระยะเวลานานๆ ส่งผลให้มีอาการปวดเมื่อย บางครั้งกล้ามเนื้อเกร็งไปรบกวนเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อสะโพกและขา ทำให้เกิดอาการชาร้าวลงขาได้ 
Picture
หากเราทำท่านั้นเป็นเวลานานๆ แล้วเปลี่ยนอิริยาบทอย่างรวดเร็ว เช่น ยืนแล้วก้มตัวยกของหนักๆ เอี้ยวตัวเอื้อมหยิบหรือยกของ หรือเกิดอุบัติเหตุลื่นหกล้มสะโพกกระแทก ก็อาจเป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและข้อต่อ หรือมีผลทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นออกมารบกวนเส้นประสาทได้เช่นกัน

        หากเรามีอาการแบบนี้ เราควรปฏิบัติตัวอย่างไรดี ? 
        1.เราต้องสังเกตตัวเองว่ามีอาการ “ปวด บวม แดง ร้อน” หรือไม่ ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้คือการอักเสบ 
        “ ปวด ” คือปวดเมื่อยหรือปวดคล้ายกล้ามเนื้อช้ำ เริ่มมีจำกัดการเคลื่อนไหว 
        “ บวม ” คือ เมื่อสัมผัสบริเวณนั้นด้วยการกดคลึงเบาๆแล้วมีลักษณะนิ่ม บวมกว่าบริเวณอื่นๆ 
        “ แดง ” คือ ผิวหนังบริเวณนั้นมีลักษณะสีแดง หรือเปลี่ยนสีจากปกติไป เนื่องจากอักเสบแล้วมีเลือดมาบริเวณนั้นเยอะมากขึ้น 
        “ ร้อน ” คือ พื้นผิวบริเวณนั้นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น สามารถสัมผัสได้ว่าอุ่นมากขึ้น หากมีอาการเหล่านี้ควรลดการอักเสบด้วยการประคบเย็น อาจใช้เป็นเจลเย็น หรือน้ำแข็งประคบบริเวณนั้น เป็นระยะเวลา 15-20 นาที ควรห่อผ้าขนหนูอย่างน้อย 1 ชั้น เพื่อป้องการผิวหนัง Burn จากความเย็น

        2.ช่วงเเรกเน้นพักการใช้งานที่หนักเกินไป หลีกเลี่ยงท่าทางที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวด อักเสบเพิ่มขึ้น เช่น ท่านั่งหลังค่อม นั่งลักษณะกึ่งนั่งกึ่งนอน ยืนก้มตัวหรือเอี้ยวตัว และควรมาพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป

        วันนี้ทางเดอะมูฟคลับคลินิกกายภาพบำบัดได้มีตัวอย่างการดูแลและบริหารร่างกายตนเองเบื้องต้นมาฝากกันค่ะ

        มาเริ่มกันที่การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching exercise) ที่มักมีอาการเกร็งตึงได้จากการนั่งหรือยืนติดต่อกันเป็นเวลานานๆ

        1. การยืดกล้ามเนื้องอสะโพก (Hip flexor group muscle) 

         เมื่อเราต้องการยืดกล้ามเนื้อหน้าขาด้านหน้าข้างซ้าย เริ่มต้นด้วยท่านอนคว่ำ  พับขาซ้ายขึ้นและเอามือซ้ายจับที่ข้อเท้าซ้าย ยกเท้าขึ้นมาทางศีรษะ ให้ใกล้กับสะโพกมากเท่าที่ทำไหว ไม่มีอาการเจ็บขณะยืด ยืดค้างไว้ประมาณ 15-30 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง ครบแล้วสลับทำอีกข้าง ขณะที่ทำไม่ควรเกร็งกล้ามเนื้อหลังและลำคอ เพราะอาจเกิดการบาดเจ็บเพิ่มได้
Picture
Picture
 2. การยืดกล้ามเนื้อก้น (Glutues group muscle)
 
       เมื่อเราต้องการยืดกล้ามเนื้อก้นข้างซ้าย เริ่มต้นด้วยนอนหงาย งอเข่างอสะโพกข้างซ้ายขึ้น พาดข้ามลำตัวไปด้านขวา แล้วดึงขาซ้ายเข้าหาตัว ค้างไว้ประมาณ 15- 30 วินาที ทำ 10 ครั้ง จะรู้สึกตึงบริเวณก้น ครบแล้วสลับทำอีกข้าง
Picture
Picture
การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strengthening exercise) 

       การฝึกกล้ามเนื้อหน้าท้อง ที่ช่วยเพิ่มความมั่นคงของหลัง (Transversus abdominis muscle) 

       เริ่มต้นด้วยการนอนหงาย ชันขาทั้ง 2 ข้าง แล้วเกร็งหน้าท้อง ขมิบก้น หลังแนบกับเตียง ขณะทำหายใจเข้าออกตามปกติ โดยหายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องยุบลง โดยต้องเกร็งหน้าท้องและขมิบก้นค้างไว้ ค้างไว้ 10-15 วินาที นับเป็น 1 ครั้งแล้วผ่อนคลาย พักระหว่างเริ่มครั้งถัดไป 5-10 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 
Picture
Picture
 สุดท้ายเรามีเทคนิคการผ่อนคลาย (Relax technique) เพื่อลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลังและเพิ่มแรงดันให้กับหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้กลับเข้าสู่แนวปกติ (ในระดับที่ไม่รุนแรงมาก)

       เริ่มต้นด้วยการนอนคว่ำ เอาหมอนรองบริเวณคอถึงช่วงอก แล้วพับขางอเข่า 2 ข้างสลับกันช้าๆ ขาซ้ายสลับขวานับเป็น 1 ครั้ง ทำซ้ำ 30 ครั้ง 10 รอบ พักระหว่าง ระวังอย่าออกแรงที่กล้ามเนื้อหลังนะคะ ให้ผ่อนกล้ามเนื้อหลังสบายๆ ค่อยๆใช้กล้ามเนื้อสะโพกและต้นขาด้านหลังยกขางอเข่าขึ้น
Picture
Picture
Picture
เพื่อนๆพอได้ทราบเทคนิคการดูแลตัวเองเบื้องต้นเกี่ยวกับอาการปวดหลังแล้วใช่มั้ยคะ  
      แต่สิ่งสำคัญของการดูแลตนเอง ก็คือ การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับเราเป็นประจำ เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ อย่าปล่อยให้ทำท่านั้นค้างไว้นานไป เท่านี้ก็จะช่วยให้เพื่อนๆสุขภาพแข็งแรง ห่างไกลอาการต่างๆได้ค่ะ

      หากเพื่อนๆคนไหนมีอาการเหล่านี้แล้วอยากเช็คหรือตรวจร่างกาย สามารถมาเข้ารับคำปรึกษาและทำกายภาพบำบัดได้ที่ เดอะมูฟคลับคลินิกกายภาพบำบัดได้เลยค่ะ
0 Comments

January 08th, 2022

1/8/2022

0 Comments

 
0 Comments

4 ท่ายืด ป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม

12/13/2021

0 Comments

 
หากใครที่นั่งทำงานนาน หรือ ใช้มือถือหนักมาก คลิปนี้จะช่วยทุกคนเอง มายืดกล้ามเนื้อไปพร้อมๆกับเดอะมูฟคลับเลยค่า  #ท่ายืด #ออฟฟิศซินโดรม #ใช้มือถือนาน #กล้ามเนื้อตึงหนักมาก #เดอะมูฟคลับคลินิก
0 Comments

เดอะมูฟคลับคลินิกกายภาพบำบัด The Move Club Physical Therapy Clinic

12/5/2021

0 Comments

 
​เดอะมูฟคลับคลินิกกายภาพบำบัด
The Move Club Physical Therapy Clinic
 
เดอะมูฟคลับคลินิกกายภาพบำบัด เปิดให้บริการตั้งแต่ปีพ.ศ.2557  
ปัจจุบัน มี 4 สาขา
1.สาขาเจริญนคร : ซ.เจริญนคร 40 เขตคลองสาน กรุงเทพ
2.สาขารัชดา-วงศ์สว่าง : ซ.รัชดาภิเษก78 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพ
3.สาขาบางขุนนนท์(จรัญ-ปิ่นเกล้า): 292/14 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพ ( MRT บางขุนนนท์ 50เมตร)
4.สาขาราชพฤกษ์ : เลขที่ 1 ซ.ราชพฤกษ์ 6 ถ.ราชพฤกษ์ แขวงบางจาก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพ
 
บริการรักษาด้านต่างๆดังนี้
  1. กายภาพบำบัดทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Orthopedic Physical Therapy)
  • ปวดคอบ่าไหล่ สะบัก ออฟฟิศซินโดรม
  • ไหล่ติด
  • ปวดข้อมือ ปวดข้อศอก
·       ปวดหลัง ปวดสะโพกร้าวลงขา หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
·       ปวดเข่า
·       รองช้ำ เอ็นร้อยหวายอักเสบ ปวดใต้ฝ่าเท้า
·       บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา 
·       กระดูกสันหลังคด
 
โปรแกรมการรักษา
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Orthopedic Physical Therapy)
 
The Move Club Signature Program
โปรแกรมสุดพิเศษที่เดอะมูฟคลับคลินิกกายภาพบำบัด   สำหรับการรักษาอาการด้วยศาสตร์ทางการกายภาพบำบัดที่ออกแบบเฉพาะ เทคนิคการรักษาด้วยมือร่วมกับการใช้เครื่องมือทันสมัย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดและมีประสิทธิภาพสูง  โดยทีมนักกายภาพบำบัดมืออาชีพ มีประสบการณ์ ซึ่งเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ  พร้อมทั้งช่วยปรับโครงสร้างร่างกายในส่วนที่มีปัญหาให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องตามหลักกายวิภาคศาสตร์  
 
คลินิกกายภาพบำบัดที่มีทีมนักกายภาพบำบัดวิชาชีพและมีประสบการณ์  พร้อมห้องรักษาที่เป็นสัดส่วนและอุปกรณ์เครื่องมือเทคโนโลยีทันสมัย มีประสิทธิภาพสูง
  • ​เครื่องช็อคเวฟ(ShockWave Therapy) 
  • เครื่องเลเซอร์ (Laser Therapy) )*(มีบริการที่สาขาราชพฤกษ์,สาขารัชดา-วงศ์สว่าง,สาขาเจริญนคร)
  • เครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound Therapy)
  • เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrotherapy) 
 
 
2.กายภาพบำบัดทางระบบประสาท (Neurologic Physical Therapy) 
โปรแกรมกายภาพบำบัดทางระบบประสาท
✅ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต (Stroke)
✅กลุ่มอาการความผิดปกติของสมองที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)                                    
✅อาการอื่นๆ เช่น การฟื้นฟูหลังการผ่าตัดไขสันสันหลัง , การฟื้นฟูหลังการผ่าตัดเส้นประสาท , กลุ่มอาการอัมพาตใบหน้า (Bell’s palsy)
 
เปิดทำการ : ทุกวัน (จันทร์-อาทิตย์) เวลา 9.00-18.00น (จองคิวล่วงหน้า)
สาขาราชพฤกษ์ ทุกวัน (จันทร์-อาทิตย์) เวลา 9.00-19.00น (จองคิวล่วงหน้า)

มีที่จอดรถทุกสาขาค่ะ
 
 
‼️ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ‼️
 
สาขาราชพฤกษ์
Tel : 097-447-4542, 092-264-2144
Website : TheMoveClubRatchada คลิก bit.ly/TheMoveClubRatchada
Facebook : TheMoveClubRatchada คลิก bit.ly/FBTMCRatchada
Line : @themoveclubrp คลิก bit.ly/ThemoveclubRP
IG : Themoveclub คลิก  bit.ly/IGTheMoveClub

 
สาขารัชดา-วงศ์สว่าง
📲 Tel : 092-264-2144
📲 Facebook : Themoveclubratchada   คลิกอัตโนมัติ  bit.ly/FBTMCRatchada
📲 IG : Themoveclub คลิกอัตโนมัติ   bit.ly/IGTheMoveClub
📲 Line : @themove-ratchada คลิกอัตโนมัติ  bit.ly/LineTMCRatchada
🌐Website : www.themoveclubratchada.com คลิกอัตโนมัติ  bit.ly/TheMoveClubRatchada

สาขาบางขุนนนท์(จรัญ-ปิ่นเกล้า)
📲 Tel : 065-926-5575
📲 Facebook : Themoveclubratchada   คลิกอัตโนมัติ  bit.ly/FBTMCRatchada
📲 IG : Themoveclub คลิกอัตโนมัติ   bit.ly/IGTheMoveClub
📲 Line : @themove-ratchada คลิกอัตโนมัติ  bit.ly/LineTMCRatchada
🌐Website : www.themoveclubratchada.com คลิกอัตโนมัติ  bit.ly/TheMoveClubRatchada

สาขาเจริญนคร
📲 Tel : 098-257-9659
📲 Facebook : Themoveclubclinic คลิกอัตโนมัติ  bit.ly/FBTMCCharoenNakhon
📲 IG : Themoveclub คลิกอัตโนมัติ   bit.ly/IGTheMoveClub
📲 Line : @themoveclubclinic คลิกอัตโนมัติ bit.ly/LineTMCCharoenNakhon
🌐Website : www.themoveclubptclinic.com คลิกอัตโนมัติ  bit.ly/TheMoveClubPtClinic
         
***********************************************
 
0 Comments

​5 ท่าออกกำลังกายสำหรับภาวะกระดูกสันหลังคด

9/6/2021

0 Comments

 
​5 ท่าออกกำลังกายสำหรับภาวะกระดูกสันหลังคด

การออกกำลังกายในภาวะกระดูกสันหลังคด นอกจากจะเน้นเป็นการบริหารกล้ามเนื้อแนวกลางลำตัว ยังต้องมีการออกกำลังกายที่ต้องออกแบบเฉพาะ เนื่องจากภาวะกระดูกสันหลังคด เป็นความผิดปกติในแนว 3 ระนาบ จึงต้องบริหารให้ครบทุกมุม เพื่อป้องกันการคดเพิ่ม

หากท่านใดมีภาวะกระดูกสันหลังคด หรือสงสัยว่ามีภาวะกระดูกสันหลังคด สามารถเข้ามาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เดอะมูฟคลับคลินิกค่ะ
0 Comments

มาทำความรู้จักกับเครื่องดึงคอ/หลัง (Traction) กับเดอะมูฟคลับคลินิกกายภาพบำบัดกันค่ะ

9/6/2021

0 Comments

 
มาทำความรู้จักกับเครื่องดึงคอ/หลัง (Traction) 
กับเดอะมูฟคลับคลินิกกายภาพบำบัดกันค่ะ

📍การรักษาด้วยการดึง (Traction) เป็นการให้แรงต่อกระดูกสันหลังให้มีการยืดออกในลักษณะตรง จะช่วยคลายความตึงของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณรอบกระดูกสันหลัง ช่วยเพิ่มช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังในกรณีที่มีกระดูกสันหลังตีบแคบหรือมีการกดเบียดของข้อต่อบริเวณกระดูกสันหลัง ลดการกดทับของรากประสาท จึงช่วยลดอาการชาร้าวลงแขนหรือชาร้าวลงขาได้🤔🤔

เครื่องดึงคอ/หลังเหมาะกับใคร❓❓
   👉🏻 ผู้ที่มีกล้ามเนื้อเกร็งตัว (Paraspinal muscle spasm)
   👉🏻 ภาวะกระดูกสันหลังหรือข้อต่อบริเวณกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal stenosis)
   👉🏻 ภาวะกระดูกสันหลังหรือข้อต่อบริเวณกระดูกสันหลังเสื่อมทับรากประสาท (Spondylosis) 
   👉🏻 หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus :HNP)  
   👉🏻กระดูกสันหลังเคลื่อนระดับที่มีความมั่นคงของกระดูกสันหลัง (Spondylolisthesis grade 1-2)

หากมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถสอบถามหรือเข้ามาตรวจประเมินอาการได้ที่เดอะมูฟคลับคลินิกกายภาพบำบัดได้นะคะ 🥰🤗

สามารถกดดูคลิป youtube ตามลิ้งค์ที่ใส่ไว้ในคอมเมนท์ด้านล่างได้เลยค่ะ👇🏻👇🏻
0 Comments

3 สาเหตุอาการปวดหลังร้าวลงขา อย่านิ่งนอนใจ ! ( Low Back Pain with Radiated Pain )

9/6/2021

0 Comments

 
​อาการปวดหลังร้าวลงขาเหมือนกัน แต่สาเหตุอาจจะไม่เหมือนกันก็ได้🤪

วันนี้ทางเดอะมูฟคลับคลินิกจะพามารู้จักสาเหตุของอาการปวดหลังร้าวลงขา วิธีการสังเกตตัวเองว่าเกิดจากสาเหตุอะไร และวิธีการดูแลเบื้องต้นกันค่ะ☺️

หากเพื่อน ๆ คนไหนสังเกตอาการแล้วมีบางข้อที่ตรงกับอาการที่ตัวเองเป็น หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถเข้ามาปรึกษาเพิ่มเติม ได้ที่เดอะมูฟคลับคลินิกค่ะ ✔️✔️
0 Comments
<<Previous

    Author

    Archives

    January 2022
    December 2021
    September 2021
    August 2021
    June 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    September 2020
    August 2020
    July 2020
    June 2020
    May 2020
    April 2020
    January 2020
    September 2019
    July 2019
    May 2019
    January 2019
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018

    Categories

    All

    RSS Feed

Location

Picture

เดอะมูฟคลับ คลินิกกายภาพบำบัด สาขารัชดา-วงศ์สว่าง

ที่ตั้ง ซ.รัชดาภิเษก78 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพ
โทร 09 2264 2144  

FB: THEMOVECLUB-RATCHADA

LINE@: @THEMOVE-RATCHADA

WEBSITE :  WWW.THEMOVECLUBRATCHADA.COM                     
​IG : THEMOVECLUB

​YOUTUBE : คลินิกกายภาพบำบัดเดอะมูฟคลับ 
Google Map : https://bit.ly/themoveclubRatchada
Picture

Picture
สาขาราชพฤกษ์ (หน้าปากซอยราชพฤกษ์6)
(ห่างจาก BTS MRT สถานีบางหว้า 1.6 km)
ที่ตั้ง: เลขที่ 1  ซ.ราชพฤกษ์ 6  ถ.ราชพฤกษ์  แขวงบางจาก  เขตภาษีเจริญ  กรุงเทพ
​วันเวลาทำการ : เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 09:00 น. - 18:00 น. (จองคิวล่วงหน้าเท่านั้น)
Tel : ​0974474542 

ติดต่อสอบถามและนัดหมายเวลา Tel : ​0974474542 , 092-264-2144
Website : TheMoveClubRatchada 
Facebook : TheMoveClubRatchada 
Line : @themoveclubrp 
IG : Themoveclub 


Google Map : http://bit.ly/themoveclubRP​
Picture

Picture
เดอะมูฟคลับ คลินิกกายภาพบำบัด สาขาเจริญนคร
ชั้น 2 อาคาร ดิษฐ์ราเนอสซิ่งโฮม ซอยเจริญนคร 40  ถนนเจริญนคร
แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กทม.
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 09:00 น. - 18:00 น. (จองคิวล่วงหน้าเท่านั้น)
ติดต่อสอบถามและนัดหมายเวลา โทร 09 8257 9659 


⭐️ Website : www.themoveclubptclinic.com
⭐️ FB : Themoveclubclinic 
⭐️ Line : @themoveclubclinic
⭐️ Youtube : คลินิกกายภาพบำบัดเดอะมูฟคลับ
Google Map : https://bit.ly/themoveclubCharoenNakhon
​
Picture

Copyright ©2014-2023 TheMoveClub Clinic. All material on this website is protected by copyright. All rights reserved.
This website also contains material copyrighted by third parties.
  • Home
  • Services
  • Office Syndrome
  • About US
    • Gallery
  • Promotion
  • Review
    • Review สาขารัชดา-วงศ์สว่างและสาขาบางขุนนนท์
    • Review สาขาราชพฤกษ์
  • Contact
  • อาการปวดและท่าบริหาร
    • ปวดคอบ่าไหล่ ออฟฟิศซินโดรม
    • ปวดหลัง ปวดสะโพก หมอนรองกระดูกทับเส้นป&
    • ปวดฝ่าเท้า รองช้ำ
    • กระดูกสันหลังคด
    • นิ้วล็อค ปวดข้อมือ
    • ปวดเข่า
    • กายภาพบำบัดรักษาปวดหลัง
  • News